ในปัจจุบันมีการนำเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography ; CT) มาใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาโรคกันอย่างแพร่หลาย การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจที่มีการฉายรังสีเอกซ์อย่างต่อเนื่องและใช้รังสีในปริมาณที่สูงกว่าการถ่ายภาพรังสีทั่วไป (general x-ray)
ดังนั้น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพหรือประเมินคุณภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือหลังจากการซ่อมแซม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เครื่องที่ใช้งานอยู่นั้น มีคุณภาพดี เหมาะสำหรับกับการนำไปใช้ในการตรวจวินิจฉัย
ซึ่งต่อไปนี้ จะกล่าวถึงขั้นตอน วิธีการการตรวจสอบคุณภาพตามแนวทางของ วิทยาลัยรังสีวิทยาของอเมริกัน(American College of Radiology ; ACR 2017 Computed Tomography) และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องข้อปฏิบัติการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย พ.ศ.2550
การตรวจสอบค่าตัวเลขซีทีของน้ำและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วัตถุประสงค์
เพื่อประเมินค่าตัวเลขซีทีของน้ำและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากหุ่นจำลองน้ำ
ประเภทการตรวจสอบ ประจำวัน
อุปกรณ์
- หุ่นจำลองน้ำ จากบริษัทผู้ผลิต
- เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่ใช้งาน
วิธีการดำเนินการ
- ก่อนการตรวจสอบ ควรทำ Tube warm หรือ Air calibration
- ติดตั้งและจัดวางหุ่นจำลองน้ำ ณ จุดกึ่งกลางแกนตรี ให้อยู่ในระดับและระนาบที่เหมาะสม (โดยใช้เครื่องวัดระดับน้ำ ช่วยตรวจสอบในระหว่างการจัดวางหุ่นจำลอง)
- ทำการสแกนหุ่นจำลอง เริ่มด้วย
- สแกน ภาพบอกตำแหน่ง (Scout image, Surview หรือ Topogram) เพื่อใช้กำหนดตำแหน่งในการสแกนภาพตัดขวาง
- สแกน ตรงกลางหุ่นจำลองน้ำ โดยใช้โปรโตคอล (protocol) การสแกนตามที่บริษัทกำหนด (หรือที่หน่วยงานใช้บ่อย) ควรสแกนทั้ง axial และ helical mode (ถ้าทำได้) กรณีต้องการเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน อาจทำการสแกนเพิ่ม โดยการเปลี่ยนขนาด ของ slice thickness เช่น 1, 2, 5, 10 mm เป็นต้น
เกณฑ์ที่พิจารณา
- เมื่อได้ภาพตัดขวางซีทีของหุ่นจำลองน้ำแล้ว ให้เลือกไอคอน ROI รูปวงกลม ขนาดประมาณ 400 mm2 นำมาวางที่ตำแหน่งจุดกึ่งกลางของภาพหุ่นจำลองน้ำ แล้วบันทึกค่าเฉลี่ยตัวเลขเลขซีทีและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
- ค่าเฉลี่ยตัวเลขซีทีที่ได้ เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ควรมีค่าที่แตกต่างไม่เกิน 0+3 HU (ACR 2017) (ถ้าใช้ ACR phantom กำหนดอยู่ในช่วง 0+5 หรือ 0+7 เนื่องจากชนิดของน้ำที่อยู่ในแบบจำลอง และเทคนิคของเครื่องที่ใช้งานมีความแตกต่างกัน) 0+4 HU (กรมวิทย์ฯ 2550)
- ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตัวเลขซีทีน้ำที่ได้ ใช้เป็นตัวแทนบ่งบอกสัญญาณรบกวน (noise) ในการประเมิน มีคำแนะนำให้รวบรวมข้อมูลจากการประเมิน จำนวน 10 วัน (หรือมากกว่า) (ACR 2017) โดยนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย เพื่อเก็บค่าที่ได้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น ต่อไป
- หากพบว่า ค่าที่ได้มีค่าเกินเกณฑ์ที่กำหนด ควรทำการทดสอบซ้ำอีกครั้ง ถ้าค่ายังเกินเกณฑ์ ควรพิจารณาทำการ calibration หรือ ให้ช่างผีรับผิดชอบ ตรวจสอบหรือปรับแก้ไข
หากเก็บข้อมูล การตรวจสอบ ประเมินคุณภาพด้วยวิธีการนี้ อย่างต่อเนื่อ สามารถนำข้อมูลมาศึกษา นำไปสู่การทำงานประจำในรูปแบบงานวิจัย ได้นะครับ
ตัวอย่าง
โอกาสพัฒนา มีทุกวัน
แต่ละวัน ถอดบทเรียนชีวิต เปลี่ยนเป็นโอกาสพัฒนา ต่อไปได้นะ ครับ