logo-ราชวิลัยรังสีแพท

รังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย

RADIOLOGICAL SOCIETY OF THAILAND

จำนวนสมาชิกปัจจุบัน

radiologythailand member

คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สารช่วยการวินิจฉัยโรคด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย

   จากปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านยา ซึ่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ดำเนินการวิจัย เรื่องการพัฒนาระบบบัญชีรายจ่ายด้านยาแห่งชาติ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมานั้น ผลการวิจัยได้สะท้อนให้เห็นค่าใช้จ่ายในการบริโภคยาของประเทศที่มีจำนวนค่อนข้างสูง โดยมีมูลค่ายา เพื่อการบริโภคในประเทศในราคาผู้ผลิต (ตาม price list) เกินกว่าหนึ่งแสนล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด สำหรับสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ ซึ่งการสั่งใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล หรือการสั่งใช้ยาเกินความจำเป็นเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาต่อค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพของประเทศไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน

          คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในข้างต้น จึงมีการกำหนดให้ “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนให้เป็นไปอย่างสมเหตุผล และมีความคุ้มค่า

          คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ (Thai National Formulary) ถือเป็นกลไกหรือเครื่องมือ อย่างหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ จึงได้มอบหมายให้คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยาในแต่ละสาขา ดำเนินการจัดทำคู่มือดังกล่าวขึ้น ในรูปแบบของสื่อที่สั้น กระชับ ใช้งานง่าย เพื่อใช้คู่กับบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2559 และเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยา สาขารังสีวินิจฉัย เป็นคณะทำงานหนึ่งที่ได้ ดำเนินการจัดทำคู่มือคำแนะนำการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ “สารช่วยการวินิจฉัยโรคด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย” โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก นายแพทย์บัณฑิต เจ้าปฐมกุล ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในการเป็นผู้จัดทำ และเป็นบรรณาธิการวิชาการของคู่มือนี้ คณะทำงานฯ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

          คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยา สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย หวังว่า คู่มือคำแนะนำการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ “สารช่วยการวินิจฉัยโรคด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย” จะเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งในการส่งเสริมการใช้ยาของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนเป็นไปอย่างสมเหตุผล และมีความคุ้มค่า ต่อไป

รศ.พญ.สุกัลยา เลิศล้ำ

ประธานคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยา สาขารังสีวินิจฉัย พ.ศ.2556-2558

เนื้อหาประกอบไปด้วย

  • Contrast media ในการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพ
  • แป้งแบเรี่ยม (Barium preparation)
  • Water soluble iodinated contrast media (สารทึบรังสี)
  • ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่ไม่เกี่ยวกับไต
  • ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่เกี่ยวกับไต
  • ผลข้างเคียงแบบล่าช้า
  • ผลข้างเคียงต่อบริเวณที่ฉีดสารทึบรังสี
  • ผลข้างเคียงต่อผลเลือดทางห้องปฏิบัติการและการรักษา
  • การใช้สารทึบรังสีในผู้ป่วยตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • การใช้สารทึบรังสีในผู้ป่วย pheochromocytoma และผู้ป่วย paraganglioma
  • การใช้สารทึบรังสีในผู้ป่วยภาวะเร่งด่วน (Urgency) และ ภาวะฉุกเฉิน (Emergency)

สารเปรียบเทียบความชัดที่ใช้ในการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นสะท้อน ในสนามแม่เหล็ก (MR contrast media)

  • ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่ไม่เกี่ยวกับไต
  • ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่เกี่ยวกับไต
  • ผลข้างเคียงแบบล่าช้า
  • ผลข้างเคียงต่อบริเวณที่ฉีดสารเปรียบเทียบความชัด
  • ผลข้างเคียงต่อผลเลือดทางห้องปฏิบัติการ
  • การใช้สารเปรียบเทียบความชัดในกรณีที่ผู้ป่วยตั้งครรภ์
  • การใช้สารเปรียบเทียบความชัดในผู้ป่วยที่ให้นมบุตร
  • การใช้สารเปรียบเทียบความชัดในผู้ป่วย pheochromocytoma และผู้ป่วย paraganglioma
  • การใช้สารเปรียบเทียบความชัดสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเร่งด่วน (Urgency) และ ภาวะฉุกเฉิน (Emergency)