สำนวน สุภาษิตไทย ที่ว่า…
สองหัวดีกว่าหัวเดียว หรือ หลายหัวดีกว่าหัวเดียว
หมายถึง การกระทำสิ่งใดคนเดียว ย่อมไม่ดีเท่ากับการช่วยกันคิดช่วยกันทำ เมื่อนำสำนวนนี้ มาเปรียบเทียบกับเครื่องซีที หรือ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography; CT) จะได้แนวคิดในการพัฒนาเครื่องซีที จากเดิมมี อุปกรณ์รับภาพแถวเดียว (single detector) มาพัฒนาเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รุ่นใหม่ คือ มัลติสไลด์ซีที (Multi slice CT) หรือ Multi detectors CT ที่มีการพัฒนา โดยการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์รับรังสี (detectors) ให้มีจำนวนที่มากขึ้น จาก 1 แถว เป็น 2 แถว และ จาก 2 แถว มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เพิ่ม เป็น 4,8,16,32,64,128 แถว
ภาพนี้ เครื่องซีที ชนิด อุปกรณ์รับรังสี จำนวน 1 แถว (ภาพบน) และ เครื่องซีที ชนิดที่มีอุปกรณ์รับรังสี จำนวน 4 แถว (ภาพล่าง)
จำนวนอุปกรณ์รับรังสีที่มีมากขึ้น สามารถสร้างภาพที่มีรายละเอียดเล็กๆได้ดี บางครั้ง ในการใช้งาน อาจมีคำสั่งให้รวมข้อมูลจากอุปกรณ์รับรังสีแต่ละชิ้น คล้ายๆ สำนวน สองหัวดีกว่าหัวเดียว หรือ หลายหัวดีกว่าหัวเดียว ซึ่งเป็นการนำข้อมูลจากอุปกรณ์รับรังสีแต่ละชิ้นมารวมกัน แล้วสร้างเป็นภาพใหม่ ทำให้ใช้เวลาในการตรวจที่สั้นลง ตรงกับความหมาย การกระทำสิ่งใดคนเดียว ย่อมไม่ดีเท่ากับการช่วยกันคิดช่วยกันทำ
ภาพนี้ เครื่องซีที ชนิดมัลติสไลด์
ภาพด้านซ้ายมือ
สร้างภาพ 4 ภาพ โดยใช้ข้อมูล จำนวน 4 แถว แต่ละแถว มีขนาดอุปกรณ์รับรังสี ขนาด 0.6 มิลลิเมตร (mm) สร้างภาพขนาด 0.6 mm ครอบคลุมพื้นที่ในการตรวจทั้งหมด เท่ากับ 0.6 x 4 = 2.4 mm
ภาพด้านขวามมือ
สร้างภาพ 4 ภาพ โดยใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์รับรังสี จำนวน 8 แถว โดยนำข้อมูลจากอุปกรณ์รับรังสี ขนาด 0.6 mm จำนวน 2 แถว มารวมกันสร้างเป็นภาพ 1 ภาพ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น คือ ขนาด 1.2 mm (0.6+0.6 = 1.2 mm) ครอบคลุมพื้นที่ในการตรวจทั้งหมด เท่ากับ 1.2 x 4 = 4.8 mm เมื่อทำแบบนี้ ทำให้ตรวจพื้นที่ได้กว้างมากขึ้น ส่งผลให้ ใช้ระยะเวลาในการตรวจที่สั้นลง
เปรียบเทียบ แบบ 1 แถว
0.6 mm x 4 = 2.4 mm ใช้เวลาฉายรังสี 1 วินาที ถ้า ต้องการพื้น ที่ 4.8 mm ต้องใช้เวลาฉายรังสี 2 วินาที
แบบ หลายแถว
เมื่อรวมข้อมูล โดยใช้ 0.6+0.6 คือ 1.2 mm x 4 = 4.8 mm ใช้เวลาฉายรังสี เพียง 1 วินาที ตรงกับความหมาย หลายตัว ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ รวมข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่กว้าง ใช้เวลาการตรวจสั้นลง แต่ละบริษัทผู้ผลิต เครื่องซีที ก็ จะมีการออกแบบ ขนาดอุปกรณ์รับรังสีที่มีขนาดที่แตกต่างกัน ทำให้มีรูปแบบในการรวมข้อมูลที่แตกต่างกัน
รูปแบบการเปิดใช้งาน เพื่อใช้อุปกรณ์รับรังสี รับปริมาณรังสีในการตรวจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน
ในการใช้งาน
นักรังสีเทคนิค นักรังสีการแพทย์ ต้องเลือก ใช้ขนาดอุปกรณ์รับรังสีให้สอดคล้องกับตำแหน่งหรืออวัยวะที่ทำการตรวจวินิจฉัย
จากที่นำเสนอ
จะเห็นได้ว่า…
อุปกรณ์รับรังสี จำนวนหลายแถว รับข้อมูลได้มากกว่าอุปกรณ์รับรังสีแถวเดียว หลายหัว(อุปกรณฺรับรังสี) คิดได้รวดเร็วมากกว่า หัวเดียว ข้อมูลกลุ่มใหญ่ สร้างสรรค์ สิ่งใหม่ได้เพิ่มขึ้น (คล้ายๆ การสร้างภาพทางรังสีวินิจฉัยในรูปแบบต่างๆได้มากขึ้น)
ตรงกับสำนวน หลายหัว ดีกว่า หัวเดียว
ประโยชน์ของความรู้ คือ การนำมาใช้
เครื่องมือ เครื่องใช้ ในที่ทำงาน มั่นเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และ นำมาใช้ประโยชน์ เท่าที่จะทำได้ ประโยชน์จะเกิดกับผู้รับบริการ นะครับ
โอกาสพัฒนา มีทุกๆวัน ครับ