แนวทางการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัยในผู้ป่วยต้ังครรภ์ หรือสงสัยว่าต้ังครรภ์ และผู้ป่วยที่ให้นมบุตร โดย
- ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย
- รังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย
- สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย
- สมาคมนักฟิสิกส์การแพทย์ไทย
แนวทางการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัยในผู้ป่วยต้ังครรภ์ หรือสงสัยว่าต้ังครรภ์ และผู้ป่วยที่ให้นมบุตร โดย
ในปัจจุบันมีการนำเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography ; CT) มาใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาโรคกันอย่างแพร่หลาย การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจที่มีการฉายรังสีเอกซ์อย่างต่อเนื่องและใช้รังสีในปริมาณที่สูงกว่าการถ่ายภาพรังสีทั่วไป (general x-ray)
ดังนั้น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพหรือประเมินคุณภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือหลังจากการซ่อมแซม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เครื่องที่ใช้งานอยู่นั้น มีคุณภาพดี เหมาะสำหรับกับการนำไปใช้ในการตรวจวินิจฉัย
ซึ่งต่อไปนี้ จะกล่าวถึงขั้นตอน วิธีการการตรวจสอบคุณภาพตามแนวทางของ วิทยาลัยรังสีวิทยาของอเมริกัน(American College of Radiology ; ACR 2017 Computed Tomography) และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องข้อปฏิบัติการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย พ.ศ.2550
การตรวจสอบค่าตัวเลขซีทีของน้ำและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วัตถุประสงค์
เพื่อประเมินค่าตัวเลขซีทีของน้ำและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากหุ่นจำลองน้ำ
ประเภทการตรวจสอบ ประจำวัน
อุปกรณ์
วิธีการดำเนินการ
เกณฑ์ที่พิจารณา
หากเก็บข้อมูล การตรวจสอบ ประเมินคุณภาพด้วยวิธีการนี้ อย่างต่อเนื่อ สามารถนำข้อมูลมาศึกษา นำไปสู่การทำงานประจำในรูปแบบงานวิจัย ได้นะครับ
ตัวอย่าง
โอกาสพัฒนา มีทุกวัน
แต่ละวัน ถอดบทเรียนชีวิต เปลี่ยนเป็นโอกาสพัฒนา ต่อไปได้นะ ครับ
สำนวน สุภาษิตไทย ที่ว่า…
สองหัวดีกว่าหัวเดียว หรือ หลายหัวดีกว่าหัวเดียว
หมายถึง การกระทำสิ่งใดคนเดียว ย่อมไม่ดีเท่ากับการช่วยกันคิดช่วยกันทำ เมื่อนำสำนวนนี้ มาเปรียบเทียบกับเครื่องซีที หรือ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography; CT) จะได้แนวคิดในการพัฒนาเครื่องซีที จากเดิมมี อุปกรณ์รับภาพแถวเดียว (single detector) มาพัฒนาเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รุ่นใหม่ คือ มัลติสไลด์ซีที (Multi slice CT) หรือ Multi detectors CT ที่มีการพัฒนา โดยการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์รับรังสี (detectors) ให้มีจำนวนที่มากขึ้น จาก 1 แถว เป็น 2 แถว และ จาก 2 แถว มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เพิ่ม เป็น 4,8,16,32,64,128 แถว
ภาพนี้ เครื่องซีที ชนิด อุปกรณ์รับรังสี จำนวน 1 แถว (ภาพบน) และ เครื่องซีที ชนิดที่มีอุปกรณ์รับรังสี จำนวน 4 แถว (ภาพล่าง)
จำนวนอุปกรณ์รับรังสีที่มีมากขึ้น สามารถสร้างภาพที่มีรายละเอียดเล็กๆได้ดี บางครั้ง ในการใช้งาน อาจมีคำสั่งให้รวมข้อมูลจากอุปกรณ์รับรังสีแต่ละชิ้น คล้ายๆ สำนวน สองหัวดีกว่าหัวเดียว หรือ หลายหัวดีกว่าหัวเดียว ซึ่งเป็นการนำข้อมูลจากอุปกรณ์รับรังสีแต่ละชิ้นมารวมกัน แล้วสร้างเป็นภาพใหม่ ทำให้ใช้เวลาในการตรวจที่สั้นลง ตรงกับความหมาย การกระทำสิ่งใดคนเดียว ย่อมไม่ดีเท่ากับการช่วยกันคิดช่วยกันทำ
ภาพนี้ เครื่องซีที ชนิดมัลติสไลด์
ภาพด้านซ้ายมือ
สร้างภาพ 4 ภาพ โดยใช้ข้อมูล จำนวน 4 แถว แต่ละแถว มีขนาดอุปกรณ์รับรังสี ขนาด 0.6 มิลลิเมตร (mm) สร้างภาพขนาด 0.6 mm ครอบคลุมพื้นที่ในการตรวจทั้งหมด เท่ากับ 0.6 x 4 = 2.4 mm
ภาพด้านขวามมือ
สร้างภาพ 4 ภาพ โดยใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์รับรังสี จำนวน 8 แถว โดยนำข้อมูลจากอุปกรณ์รับรังสี ขนาด 0.6 mm จำนวน 2 แถว มารวมกันสร้างเป็นภาพ 1 ภาพ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น คือ ขนาด 1.2 mm (0.6+0.6 = 1.2 mm) ครอบคลุมพื้นที่ในการตรวจทั้งหมด เท่ากับ 1.2 x 4 = 4.8 mm เมื่อทำแบบนี้ ทำให้ตรวจพื้นที่ได้กว้างมากขึ้น ส่งผลให้ ใช้ระยะเวลาในการตรวจที่สั้นลง
เปรียบเทียบ แบบ 1 แถว
0.6 mm x 4 = 2.4 mm ใช้เวลาฉายรังสี 1 วินาที ถ้า ต้องการพื้น ที่ 4.8 mm ต้องใช้เวลาฉายรังสี 2 วินาที
แบบ หลายแถว
เมื่อรวมข้อมูล โดยใช้ 0.6+0.6 คือ 1.2 mm x 4 = 4.8 mm ใช้เวลาฉายรังสี เพียง 1 วินาที ตรงกับความหมาย หลายตัว ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ รวมข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่กว้าง ใช้เวลาการตรวจสั้นลง แต่ละบริษัทผู้ผลิต เครื่องซีที ก็ จะมีการออกแบบ ขนาดอุปกรณ์รับรังสีที่มีขนาดที่แตกต่างกัน ทำให้มีรูปแบบในการรวมข้อมูลที่แตกต่างกัน
รูปแบบการเปิดใช้งาน เพื่อใช้อุปกรณ์รับรังสี รับปริมาณรังสีในการตรวจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน
ในการใช้งาน
นักรังสีเทคนิค นักรังสีการแพทย์ ต้องเลือก ใช้ขนาดอุปกรณ์รับรังสีให้สอดคล้องกับตำแหน่งหรืออวัยวะที่ทำการตรวจวินิจฉัย
จากที่นำเสนอ
จะเห็นได้ว่า…
อุปกรณ์รับรังสี จำนวนหลายแถว รับข้อมูลได้มากกว่าอุปกรณ์รับรังสีแถวเดียว หลายหัว(อุปกรณฺรับรังสี) คิดได้รวดเร็วมากกว่า หัวเดียว ข้อมูลกลุ่มใหญ่ สร้างสรรค์ สิ่งใหม่ได้เพิ่มขึ้น (คล้ายๆ การสร้างภาพทางรังสีวินิจฉัยในรูปแบบต่างๆได้มากขึ้น)
ตรงกับสำนวน หลายหัว ดีกว่า หัวเดียว
ประโยชน์ของความรู้ คือ การนำมาใช้
เครื่องมือ เครื่องใช้ ในที่ทำงาน มั่นเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และ นำมาใช้ประโยชน์ เท่าที่จะทำได้ ประโยชน์จะเกิดกับผู้รับบริการ นะครับ
โอกาสพัฒนา มีทุกๆวัน ครับ
ในบ่ายวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 เรินต์เกนตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทดสอบความคิดนี้ เขาได้บรรจงทำแผ่นกระดาษแข็งอย่างระมัดระวังให้เหมือนกับที่ใช้กับหลอดของเลนาร์ด โดยปิดหลอดฮิททอร์ฟ-ครูกส์ด้วยกระดาษแข็งแล้วต่อขั้วจากขดลวดเหนี่ยวนำของรุห์มคอร์ฟเพื่อสร้างประจุไฟฟ้าสถิตย์ แต่ก่อนที่เรินต์เกนจะตั้งจอที่ทาด้วยแบเรียมปลาติโนไซยาไนด์เพื่อทดสอบความคิด เขาได้ปิดม่านปิดไฟให้ห้องมืดลงเพื่อดูว่าแผ่นกระดาษแข็งปิดแสงได้มิดหรือไม่ ในขณะที่ปล่อยกระแสจากขดลวดเหนี่ยวนำขยับกระดาษแข็งให้แน่นแล้วหันไปเตรียมการขั้นถัดไป เรินต์เกนได้พบว่า ณ จุดนี้เองที่เกิดมีแสงเรืองๆ ขนาดอ่อนๆ ปรากฏที่ปลายโต๊ะที่ห่างออกไป 1 เมตร เพื่อให้แน่ใจ เรินต์เกนได้ปล่อยกระแสจากขดลวดเหนี่ยวนำอีกหลายครั้ง แสงเรืองๆ ก็ยังเกิดขึ้นเหมือนเดิม เขาจุดไม้ขีดไฟดูจึงได้เห็นสิ่งที่อยู่ปลายโต๊ะนั้นแท้จริงก็คือแผ่นกระดาษแข็งทาสารแบเรียมฯ ที่เตรียมไว้สำหรับการทดลองขั้นต่อไปมั่นเอง
เรินต์เกนคาดเดาว่าสิ่งนี้อาจเกิดจากแสงชนิดใหม่ก็ได้ วันที่ 8 พฤศจิกายน เป็นวันศุกร์ เขาจึงถือโอกาสใช้วันหยุดสุดสัปดาห์ทำการทดลองซ้ำและทำการบันทึกครั้งแรกไว้ ในหลายสัปดาห์ต่อมา เรินต์เกนกินและนอนในห้องทดลองเพื่อทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ของแสงชนิดใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร เขาจึงเรียกชื่อลำลองไปก่อนว่า “รังสี X” เนื่องจากต้องใช้สูตรคณิตศาสตร์กับสิ่งที่ยังไม่รู้จักมาก่อน แม้ว่าจะมีผู้เรียกชื่อรังสีนี้ว่า “รังสีเรินต์เกน” เพื่อเป็นเกียรติ แต่ตังเรินต์เกนเองกลับจงใจใช้ชื่อว่า “รังสีเอกซ์” เรื่อยมา
การค้นพบรังสีเอกซ์ของเรินต์เกนไม่ใช่อุบัติเหตุ หรือจากการทำงานตามลำพัง ในการเสาะแสวงหาคำตอบ เรินต์เกนและผู้คิดค้นในงานประเภทนี้ในหลายประเทศก็ได้ช่วยกันทำอยู่ การค้นพบเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดอย่างเห็นๆ กันอยู่แล้ว ความจริงแล้ว รังสีเอกซ์ได้ถูกสร้างขึ้นและเกิดรูปในฟิล์มแล้วที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย 2 ปีก่อนหน้านั้น เพียงแต่ว่าคนที่ทดลองทำไม่ได้ตระหนักว่าตนเองได้ค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่เข้าแล้ว จึงเก็บฟิล์มเข้าแฟ้มสำหรับใช้อ้างอิงในการทดลองอื่นๆ ในอนาคต ทำให้พลาดในการได้ชื่อว่าตนเป็นผู้ค้นพบสิ่งสำคัญที่สุดทางฟิสิกส์ ( ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
ตัวอย่าง ประโยชน์ จากการถ่าย Xray ได้ภาพรังสีทรวงอก ของผู้ป่วย ที่มาตรวจร่างกายประจำปี พบก้อนในทรวงอกด้านซ้าย
ในโอกาสวันดีเช่นนี้ รังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย หรือ รสท ขอแสดงความ ระลึกถึง ท่าน ศาสตราจารย์ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน
Attached is the January 2017 edition of the ISRQSA News.
The Newsletter is also available from: http://isradiology.org/isr/docs/quality/ISRQSA_News_Jan2017.pdf
E-contents of Radiological quality and safety topics (open pdf and click on the content)
For more information, please visit website http://www.isradiology.org/isr/quality.php
ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี 2 ซอยศูนย์วิจัย 1 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
ติดตามเราได้ที่
Copyright © radiologythailand . All rights reserved.
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | คุกกี้นี้กำหนดโดยปลั๊กอินความยินยอมของคุกกี้ PDPA คุกกี้ใช้เพื่อจัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้สำหรับคุกกี้ในหมวดหมู่ "Analytics" |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | คุกกี้ถูกกำหนดโดยความยินยอมของคุกกี้ PDPA เพื่อบันทึกความยินยอมของผู้ใช้สำหรับคุกกี้ในหมวดหมู่ "การทำงาน" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | คุกกี้นี้กำหนดโดยปลั๊กอินความยินยอมของคุกกี้ PDPA คุกกี้ใช้เพื่อจัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้สำหรับคุกกี้ในหมวดหมู่ "จำเป็น" |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | คุกกี้นี้กำหนดโดยปลั๊กอินความยินยอมของคุกกี้ PDPA คุกกี้ใช้เพื่อจัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้สำหรับคุกกี้ในหมวดหมู่ "อื่นๆ |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | คุกกี้นี้กำหนดโดยปลั๊กอินความยินยอมของคุกกี้ PDPA คุกกี้ใช้เพื่อจัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้สำหรับคุกกี้ในหมวดหมู่ "ประสิทธิภาพ" |
viewed_cookie_policy | 11 months | คุกกี้ถูกกำหนดโดยปลั๊กอินคำยินยอมคุกกี้ PDPA และใช้เพื่อจัดเก็บว่าผู้ใช้ยินยอมให้ใช้คุกกี้หรือไม่ มันไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ |