logo-ราชวิลัยรังสีแพท

รังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย

RADIOLOGICAL SOCIETY OF THAILAND

จำนวนสมาชิกปัจจุบัน

RCRT Member No2844

Promotion: [AOSR] AsiaSafe, AOSR-ISRRT Webninar on March 10, 2023, 17:00 (GMT+8)

AsiaSafe in collaboration with the International Society of Radiographers and Radiological Technologists presents the first in a series of webinars on the theme of “Radiologists and Radiographers collaborating to promote radiological safety”.

Please register at https://aosr.vidocto.com/

AOSR Flyer

การประชุมใหญ่สามัญรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2564 / 2565

Download : หนังสือเชิญเข้าประชุมใหญ่สามัญรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2564 / 2565

การประชุมใหญ่สามัญรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2564 / 2565 1

รูปภาพคณะกรรมการรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2564-2567

คณะกรรมการอำนวยการรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2564-2567

ผศ.นพ.จาตุรนต์ ตันติวัตนะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์จาตุรนต์ ตันติวัตนะ
นายกสมาคม

รูปภาพคณะกรรมการรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2564-2567 3

รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงจันทิมา เอื้อตรงจิตต์
อุปนายก

นายบุญชัย นิตยสุภาภรณ์ - 01

นายบุญชัย นิตยสุภาภรณ์
เลขาธิการ

ผศ.ดร.นภาพงษ์ พงษ์นภางค์ - 01

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.นภาพงษ์ พงษ์นภางค์
ประธานวิชาการ

รศ.นพ.พิทยา ด่านกุลชัย

รองศาตราจารย์นายแพทย์พิทยา ด่านกุลชัย
ปฏิคม

นพ.อลงกรณ์ เกียรติดิลกรัฐ - 01

นายแพทย์อลงกรณ์ เกียรติดิลกรัฐ
เหรัญญิก

ผศ.ดร.ทวีป แสงแห่งธรรม - 01

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ทวีป แสงแห่งธรรม
นายทะเบียน

รศ.ดร.นพ.จรูญศักดิ์ สมบูรณ์พร - 01

รองศาสตราจารย์นายแพทย์จรูญศักดิ์ สมบูรณ์พร
กรรมการกลาง-วิชาการ

ผศ.พญ.น้ำผึ้ง นำการุณอรุณโรจน์ - 01

ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงน้ำผึ้ง นำการุณอรุณโรจน์
กรรมการกลาง-การต่างประเทศ

ผศ.นพ.เอกฉัตร ฉันทนาภัค - 01

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์เอกฉัตร ฉันธนาภัค
กรรมการกลาง-สื่อสารองค์กร

รูปภาพคณะกรรมการรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2564-2567 4

รองศาตราจารย์นายแพทย์กิตติพิชญ์ บรรณางกูร
กรรมการกลาง-เครือข่ายรังสีวิทยา

รายงานกิจการของรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2561-2564

ไฟล์รายงานการ  ประจำปี 2561-2564  คลิ๊กอ่านได้ที่นี่

เรียนสมาชิกรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ที่เคารพ

ขอความร่วมมือจากสมาชิกทุกท่าน.
ด้วยรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย มีความประสงค์ ขอความร่วมมือจากพี่น้อง ชาวรังสีวิทยา ช่วยส่ง ภาพกิจกรรมที่ท่านได้ทำในหน่วยงานในช่วงเกิด โควิด-19 เช่น กิจกรรม หรือ นวัตกรรม หรือ เรื่องเล่าโควิด-19

โดยส่งข้อมูลโดยตรง รศ.ดร.เพชรากร หาญพานิชย์ [email protected]

โดยรูปหรือเรื่องที่ผ่านการพิจารณา จะนำไปเผยแพร่ใน จุลสารฉบับพิเศษ พร้อมระบุที่มา ต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ.

Asian Oceanian Congress of Radiology

Asian Oceanian Congress of Radiology 6
  • สามารถ submit abstract online ที่ aocr2020.com  จะพบประกาศเลือนวันประชุมไปเป็น July 1-4, 2021
  • หมดเขต submit abstract ภายใน January 31, 2021
  • Abstract ที่ดีที่สุด 500 เรื่องแรกจะได้ตีพิมพ์ใน Korean Journal of Radiology   
  • รังสีแพทย์และนักวิจัยรุ่นเยาว์  สามารถเข้าไปที่ Scholarship  เพื่อดูรายละเอียดและเตรียมเอกสารสมัคร  โดย abstract ที่ดีที่สุด 100 เรื่องแรกจะได้รับทุน  ซึ่งประกอบด้วยการยกเว้นค่าลงทะเบียนและที่พัก 

แนวทางการตรวจทางรังสีในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ชุดที่2

คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สารช่วยการวินิจฉัยโรคด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย

   จากปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านยา ซึ่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ดำเนินการวิจัย เรื่องการพัฒนาระบบบัญชีรายจ่ายด้านยาแห่งชาติ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมานั้น ผลการวิจัยได้สะท้อนให้เห็นค่าใช้จ่ายในการบริโภคยาของประเทศที่มีจำนวนค่อนข้างสูง โดยมีมูลค่ายา เพื่อการบริโภคในประเทศในราคาผู้ผลิต (ตาม price list) เกินกว่าหนึ่งแสนล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด สำหรับสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ ซึ่งการสั่งใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล หรือการสั่งใช้ยาเกินความจำเป็นเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาต่อค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพของประเทศไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน

          คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในข้างต้น จึงมีการกำหนดให้ “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนให้เป็นไปอย่างสมเหตุผล และมีความคุ้มค่า

          คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ (Thai National Formulary) ถือเป็นกลไกหรือเครื่องมือ อย่างหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ จึงได้มอบหมายให้คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยาในแต่ละสาขา ดำเนินการจัดทำคู่มือดังกล่าวขึ้น ในรูปแบบของสื่อที่สั้น กระชับ ใช้งานง่าย เพื่อใช้คู่กับบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2559 และเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยา สาขารังสีวินิจฉัย เป็นคณะทำงานหนึ่งที่ได้ ดำเนินการจัดทำคู่มือคำแนะนำการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ “สารช่วยการวินิจฉัยโรคด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย” โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก นายแพทย์บัณฑิต เจ้าปฐมกุล ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในการเป็นผู้จัดทำ และเป็นบรรณาธิการวิชาการของคู่มือนี้ คณะทำงานฯ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

          คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยา สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย หวังว่า คู่มือคำแนะนำการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ “สารช่วยการวินิจฉัยโรคด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย” จะเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งในการส่งเสริมการใช้ยาของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนเป็นไปอย่างสมเหตุผล และมีความคุ้มค่า ต่อไป

รศ.พญ.สุกัลยา เลิศล้ำ

ประธานคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยา สาขารังสีวินิจฉัย พ.ศ.2556-2558

เนื้อหาประกอบไปด้วย

  • Contrast media ในการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพ
  • แป้งแบเรี่ยม (Barium preparation)
  • Water soluble iodinated contrast media (สารทึบรังสี)
  • ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่ไม่เกี่ยวกับไต
  • ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่เกี่ยวกับไต
  • ผลข้างเคียงแบบล่าช้า
  • ผลข้างเคียงต่อบริเวณที่ฉีดสารทึบรังสี
  • ผลข้างเคียงต่อผลเลือดทางห้องปฏิบัติการและการรักษา
  • การใช้สารทึบรังสีในผู้ป่วยตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • การใช้สารทึบรังสีในผู้ป่วย pheochromocytoma และผู้ป่วย paraganglioma
  • การใช้สารทึบรังสีในผู้ป่วยภาวะเร่งด่วน (Urgency) และ ภาวะฉุกเฉิน (Emergency)

สารเปรียบเทียบความชัดที่ใช้ในการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นสะท้อน ในสนามแม่เหล็ก (MR contrast media)

  • ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่ไม่เกี่ยวกับไต
  • ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่เกี่ยวกับไต
  • ผลข้างเคียงแบบล่าช้า
  • ผลข้างเคียงต่อบริเวณที่ฉีดสารเปรียบเทียบความชัด
  • ผลข้างเคียงต่อผลเลือดทางห้องปฏิบัติการ
  • การใช้สารเปรียบเทียบความชัดในกรณีที่ผู้ป่วยตั้งครรภ์
  • การใช้สารเปรียบเทียบความชัดในผู้ป่วยที่ให้นมบุตร
  • การใช้สารเปรียบเทียบความชัดในผู้ป่วย pheochromocytoma และผู้ป่วย paraganglioma
  • การใช้สารเปรียบเทียบความชัดสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเร่งด่วน (Urgency) และ ภาวะฉุกเฉิน (Emergency)